วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีตรวจเช็ก "โรคกระดูกพรุน" ก่อนเข้าสู่วัยชรา

  
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       "โรคกระดูกพรุน" (Osteoporosis) เป็นโรคที่ยากจะปฏิเสธได้ ซึ่งเป็นภาวะที่มีความหนาแน่ของกระดูกต่ำ เพราะมีการสูญเสียโครงสร้างของกระดูก ทำให้กระดูกเปาะและมีโอกาสที่กระดูกจะแตกหักได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งพบได้บ่อยบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง และข้อมือ ส่วนใหญ่จะสูญเสียความหนักแน่นของกระดูกเมื่ออายุมากขึ้น หรือมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น เพราะโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่หากไม่มีการดูสุขภาพกระดูกให้ดีก้สามารภบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เสื่อมโทรมลงได้
      
       ข้อมูลจาก "กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลกลาง" บอกว่า ผู้ที่มีความหนาแน่นของกระดูกปกติจะมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดกระดูกแตกหักเอง แต่ถ้าได้รับอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง กระดูกก็สามารถแตกหักได้ทุกคน แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะมีกระดูกที่เปราะบางและเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักเพียงแค่การเคลื่อนไหวปกติ เช่น การวิ่งลงบันได ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพียงการจามก็อาจทำให้กระดูกหักได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนมีดังต่อไปนี้
      
       - ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่พบในเพศหญิง
      
       - วัยสูงอายุ
      
       - ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
      
       - รูปร่างเล็กและผอม
      
       - เคยกระดูกหักมาก่อน
      
       - ระดับฮอร์โมนเพศต่ำ ผู้หญิงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ รวมถึงผู้หญิงในวัยที่หมดประจำเดือน รวมไปถึงผู้หญิงที่ประเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือที่เรียกว่า การขาดประจำเดือน (Amenortea)
      
       - การได้รับอาหารประเภทที่ให้แคลเซียมน้อยเกินไป ได้รับวิตามินน้อยและรับประทานโปรตีน โซเดียม แะกาเฟอีนมากเกินไป
      
       - เคลื่อนไหวช้าไม่สะดวก ไม่กระฉับกระเฉง
      
       - สูบบุหรี่
      
       - ดื่มสุราและเครื่องที่มีแอลกอฮอร์
      
       - รับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาแก้อาการชักบางชนิด เป็นต้น
      
       - มีโรคประจำตัวหรือภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะผิดปกติด้านการรับประทานอาหาร (Anorexia nervosa) หอบหืด เป็นต้น
      
       - ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคของต่อมไทรอยด์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       อย่างไรก็ดี โรคดังกล่าวสามารถป้องกันและรักษาได้ โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูกที่มีความสำคัญในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน และยังช่วยในการตัดสินใจด้านการป้องกันรักษา และติดตามการรักษาโรค ส่วนการตรวจเช็คและวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน เป็นการตรวจแบบพิเศษที่เรียกว่าBone mineral density (BMD) Measurement ใช้วัดความหนาแน่นของกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยจะช่วยบอกว่า ผู้ป่วยมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำหรือไม่ ความหนาแน่นกระดูกของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อเทียบกลับการตรวจครั้งที่ผ่านๆ มา มีการพยากรณ์โอกาสความเสี่ยงของผู้ป่วยจะกระดูกหักในอนาคต และช่วยให้การตัดสินใจรักษาง่ายขึ้น
      
       สำหรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกก็มีข้อจำกัด ในผู้ป่วยที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรตรวจ เพราะการฉายรังสีอาจมีผลกระทบต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ และผู้ที่รับประทานสารทึบรังสีมาก่อน (Recent oral contrast medid) ซึ่งจะทำให้การตรวจวัดผลไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถตรวจความหนาแน่นของกระดูกได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ที่ได้รับการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มาก่อน (Recent medicine study) 
      
       ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ควรป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้ ด้วยการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยแคลเซียมและวิตามินให้เพียงพอในแต่ละวัน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกการสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์มากเกินไป รวมถึงควรมีการตรวจสุขภาพและความหนาแน่นของกระดูกทุกๆ ปี และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าจะเกิดโรคกระดูกพรุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น